2 จิตตวิเวก

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

รูปแบบการปฏิบัติธรรมทางวิทยุ (Guided Meditation) ฟังไปด้วย, นั่งสมาธิไปด้วย เพื่อทำจิตที่ประภัสสรให้ผ่องใส ด้วยการเจริญสมถวิปัสสนา นำธรรมะเข้าสู่จิตใจให้ชุ่มเย็นอ่อนเหมาะควรแก่การงาน. New Episode ทุกวันอังคาร เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

read less
Religion & SpiritualityReligion & Spirituality

Episodes

”มรณสติ“ ความตายที่ต้องทำความเข้าใจ [6736-2m]
6d ago
”มรณสติ“ ความตายที่ต้องทำความเข้าใจ [6736-2m]
ความตายจะเป็นจุดสูงสุดของความทุกข์ที่เราต้องเจอ ต้องเข้าหาระลึกถึงความตายอย่างถูกต้อง เตรียมตัวตาย โดยเข้าใจว่าความตายเกิดขึ้นกับตัวเราแน่ และให้ได้ประโยชน์จากความตาย คือเจริญมรณานุสติ จะเกิดอานิสงส์ใหญ่เป็นธรรมที่ลงสู่อมตะ คือความไม่ต้องตายอีก ทำได้โดยปล่อยวางในสิ่งของรักของหวงละความยึดถือตัวตนซึ่งเป็นแค่ธาตุทั้งสี่ละความอยากได้หลังความตายเอาอะไรไปไม่ได้ นอกจากความดี เร่งทำความดี พิจารณาบาปทั้ง 3 ช่อง ได้แก่ กาย วาจา และใจ โดยระลึกถึงบุญกิริยาวัตถุ 10 อย่าง การที่จะต่อสู้เพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอากุศลธรรมขึ้นเป็นหลักก่อน ตั้งฉันทะไว้ตรงนี้ ไปให้ได้ด้วยความเพียรพยายาม สู้ด้วยสติสัมปชัญญะ สู้ไม่ถอยไม่เลิกไม่แพ้ ปฏิบัติตามมรรคแปด ทุกข์หายไปทันที กุศลธรรมเพิ่มขึ้น ละอาสวะได้ จะบรรลุจะเห็นได้ด้วยตนเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
การคิดพิจารณาปัจจัยสี่ [6735-2m]
26-08-2024
การคิดพิจารณาปัจจัยสี่ [6735-2m]
คิดเป็นระบบด้วยการพิจารณาโดยอาศัยปัจจัย 4 เป็นพื้นฐาน เริ่มจากเครื่องนุ่งห่มให้พิจารณาว่าจะใส่เพื่ออะไร ดังนี้ ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ หมายถึงการพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงนุ่งห่ม. ถัดไปเป็นอาหารพิจารณาเพื่อไม่ให้เกิดเวทนาใหม่หรือระงับเวทนาเก่า พินิจเพ่งจดจ่อ มีสติ ไม่เผลอเพลิน ไม่ยึดติดเกิดความหวงปัจจัยที่ 3 คือ เสนาสนะ พิจารณาการเข้าสู่เสนาสนะ หรือออกจากเสนาสนะด้วยสติสัมปชัญญะ ต่อไปเรื่องของปัจจัยเภสัชบริขารสำหรับคนป่วย จะใช้ยาหรือสิ่งของอะไรต้องพิจารณามีสติมีสมาธิ นั่นเป็นธรรมะโอสถไปในตัว เพื่อที่จะระงับทุกขเวทนา การมีเงื่อนไขเยอะ จะอยู่ยาก แต่หากเงื่อนไขแห่งความสุขน้อย สุขยิ่งมากเพราะจะทุกข์น้อยเกิดปัญญาด้วยการคิดที่เป็นระบบนั้นคือการโยนิโสมนสิการ หมายถึงการทำในใจ โดยแยกกายเห็นโดยความเป็นธาตุ เป็นปฏิกูล เกิดปัญญา สิ่งที่เป็นอกุศลธรรมลดลง ความยึดถือทั้งหลายลดลง ปล่อยวาง เจริญก้าวหน้าในธรรมะของพระพุทธเจ้ายิ่งๆขึ้นไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
คิดให้เป็นขณิกสมาธิ [6734-2m]
19-08-2024
คิดให้เป็นขณิกสมาธิ [6734-2m]
คิดให้เป็นขณิกสมาธิด้วยการระลึกถึงพุทธประวัติ โดยจินตนาการเป็นภาพพระโพธิสัตว์ทำความเพียรไล่ตั้งแต่จากดงคสิริสู่ริมแม่น้ำเนรัญชรา ความระลึกได้ถึงความสงบที่เคยพบครั้งเป็นเด็กที่เกิดจากการวิเวกกายวิเวกจิตจนเกิดปิติสุข จึงพบทางสายกลาง เพราะคิดจึงรู้ ตัวเราเองคิดนึกตามจนสามารถเกิดปิติสุขมีความสบายใจแบบนั้นได้หรือไม่ สามารถพยากรณ์วาระจิตตนได้หรือไม่ ถ้าได้จึงจะถือว่าขณิกสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิได้เกิดขึ้นแล้ว ควรทำให้ชำนาญ เพื่อเป็นฐานในการค้นพบเส้นทางแห่งการตรัสรู้เช่นพุทธะต่อไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
พิจารณานามรูปตามระบบที่ถูกต้อง [6732-2m]
05-08-2024
พิจารณานามรูปตามระบบที่ถูกต้อง [6732-2m]
พิจารณานามรูปตามระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดปัญญา มี 7ประการ ดังนี้ประการที่ 1 นามคือความรู้สึกที่เรารับรู้ทางวิญญาณได้ รูปคือธาตุ4ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟและลมประการที่ 2 นามรูป มีเหตุเกิดจากวิญญาณ ซึ่งมาจากการมีสฬายตนะประการที่ 3 ความดับของนามรูปคือ ต้องดับวิญญาณประการที่ 4 องค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง เป็นหนทางปฏิบัติให้ถึงความดับของนามรูป เปรียบได้ระบบของอริยสัจ 4 คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จึงเป็นระบบคิดที่จะเป็นการใคร่ครวญโดยแยบคาย ให้เกิดปัญญาประการที่ 5 ประโยชน์จากนามรูป ทำให้เกิดสุขโสมนัสประการที่ 6 โทษของนามรูปคือความไม่เที่ยง ทำให้เราเป็นทุกข์ประการที่ 7 นิสสรณะเป็นอุบายออกจากนามรูป คือนำออกซึ่งความกำหนัดยินดีพอใจในนามรูป โดยการปฏิบัติตามมรรค 8 พิจารณาด้วยความคิดที่เป็นระบบ ในธรรมะทั้ง7ประการ ปัญญาเกิด ปล่อยวางได้ อยู่กับทุกข์แบบสุข Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
“ตื่นท่ามกลางผู้หลับ หลับท่ามกลางผู้ตื่น"[6731-2m]
29-07-2024
“ตื่นท่ามกลางผู้หลับ หลับท่ามกลางผู้ตื่น"[6731-2m]
บุคคลที่มีการสำรวมระวังนี้ได้ชื่อว่า ไม่ประมาท ตื่นอยู่ เริ่มต้นด้วยการตั้งสติตามทางสติปัฏฐาน4 โดยใช้พุทโธเป็นเครื่องมือให้เกิดสติ เรียกว่าเจริญพุทธานุสติ แต่ยังมีความคิดนึกผ่านทางช่องทางใจ ดังนั้นต้องมีการสำรวมระวังจากสติที่ตั้งขึ้น จิตสงบระงับลง ปรุงแต่งทางกายวาจาใจเบาบางลง ราคาโทสะโมหะระงับลง แม้คำว่าพุทโธก็หายไป เหลือแต่จิตที่อยู่กับธรรมารมณ์ในที่นี้คือสติ จิตอยู่ตรงไหนสติก็อยู่ตรงนั้น สติอยู่ตรงไหนจิตก็อยู่ตรงนั้น สติจึงรักษาจิตด้วยการสำรวมระวัง บุคคลที่มีสติตั้งมั่นแบบนี้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ตื่นอยู่ ไปตามสายเส้นทางที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง ทำให้รู้ถึงความตื่นอยู่เป็นขั้นๆ มีการพัฒนาทางจิตวิญญาณ มีการพัฒนาทางปัญญา เห็นความไม่เที่ยงของจิต จึงปล่อยวางได้>[00:01]: ฝึกจิตด้วยสัญญมะและทมะเหมือนการฝึกสัตว์[13:52]: เป็นผู้ตื่นอยู่ด้วยพุทโธ[23:46]: สติรักษาจิต ด้วยการสำรวมระวัง และการข่มใจ[42:33]: หลับอย่างตื่นรู้ สู่การตื่นอย่างไม่หลับ[51:06]: ใช้ปัญญาเห็นความไม่เที่ยงของจิต จึงปล่อยวางได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ธรรมสองอย่างที่เป็นส่วนแห่งวิชชา [6730-2M]
22-07-2024
ธรรมสองอย่างที่เป็นส่วนแห่งวิชชา [6730-2M]
สมถะวิปัสสนาเป็นธรรมที่คู่กัน เจริญโดยใช้อานาปานสติ สมถะที่เมื่ออบรม ทำให้มากแล้วจิตจะเจริญ ไม่คล้อยเคลื่อนไปตามอารมณ์ ละราคะโทสะโมหะได้ แต่ก็ยังกำเริบได้ จิตต้องมีความเพียรต้องด้วยองค์ประกอบ 7 ประการ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ จึงมีกำลังขึ้น จิตเป็นสมาธิวิปัสสนาเกิดเริ่มจากการโยนิโสมนสิการคิดตามระบบของอริยสัจสี่ คือความเห็นที่ถูกต้อง และพิจารณาด้วยจิตที่เป็นสมาธิ มีความสงบทั้งขบวนการนี้เรียกว่าการทำวิปัสสนา ปัญญาจะเกิดที่จิตของเรา ปัญญาคือความรู้ให้เห็นความจริง ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ปัญญาเมื่อเจริญแล้วจะ ละอวิชชาได้ ทำนิพพานให้แจ้ง เห็นความไม่เที่ยง ตัดแม้กระทั่งราก วิชชาเกิด>[00:01]: จากลมหายใจสู่สมถะวิปัสสนา[09:43]: สมถะที่เมื่อเจริญแล้ว จิตจะเจริญ[14:24]: สมถะวิปัสสนา ธรรมที่มาคู่กัน ก่อเกิดมรรค[21:43]: วิปัสสนาที่เมื่อเจริญแล้ว ปัญญาจะเจริญ[40:07]: โยนิโสมนสิการคิดมาตามระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้อง[44:27]: ปัญญาที่เมื่อเจริญแล้วจะทำนิพพานให้แจ้งได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
รู้ทุกข์ด้วยปัญญาอันยิ่ง [6729-2m]
15-07-2024
รู้ทุกข์ด้วยปัญญาอันยิ่ง [6729-2m]
กำหนดรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งจากทุกข์ นั่นคือขันธุ์ 5 ว่ามีสภาวะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเงื่อนไขปัจจัย ไม่เที่ยง ให้ละเสีย ไม่ควรยึดถือ เริ่มจากวิญญาณการรับรู้ ไม่เพลินไปตามอารมณ์ มีสติ สังเกตและวิริยะ ดำเนินตามระบบแห่งความเข้าใจที่ถูกหลัก หมายถึงระบบของความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ทุกข์ที่เราต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแท้คืออภิญญา สมุทัยคือเหตุเกิดทุกข์ต้องละ นิโรธต้องทำให้แจ้ง และมรรคคือทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจต้องทำให้เจริญ ด้วยความมีอภิญญาในจิตใจของเรา ความมีปัญญาอันยิ่ง รู้วาระจิตของตัวเอง ชนะตนเองจากความชั่วที่อยู่ในจิต จิตจะเกิดความสงบระงับ คืออุปสมายะ จิตมีความรู้ยิ่งคืออภิญญายะ จิตมีความรู้ดีมีความรู้พร้อมคือสัมโพธายะ และจิตมีความเย็น ความนุ่มนวลนั่นคือนิพพานายะ>[00:01]: กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เริ่มที่วิญญาณ[18:22]: ระบบแห่งความจริงอันประเสริฐ[27:07]: สังเกตดูเฉยๆ แยกแยะสามสิ่งที่ห่อหุ้มจิตได้ด้วยสติ[36:05]: สามสิ่งคือ ปรุงแต่งจิตเพื่อ อุปสมายะ อภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ[44:29]: ความรู้อันยิ่งในทุกข์ : ละความยึดถือในขันธ์ห้า Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
จิตนี้ฝึกได้ [6728-2m]
08-07-2024
จิตนี้ฝึกได้ [6728-2m]
การฝึกจิตซึ่งป็นนาม เป็นของว่าง ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์ โดยเริ่มจากใช้ลมหายใจเป็นฐานที่ตั้งของสติ ฝึกให้สติมีกำลังจะระลึกได้ ไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะมาทำให้เกิดโทษ จิตจะไม่เผลอไม่เพลิน รับรู้และเข้าใจธรรมชาติของทุกข์คือขันธ์5 ยอมรับและเข้าใจ สมุทัยคือตัณหา ให้กำจัดเสีย นิโรธคือความดับไม่เหลือของตัณหา ต้องทำให้แจ้งให้ดับ มรรคคือองค์ประกอบอันประเสริฐ8อย่าง ต้องมีและพัฒนาให้ดีขึ้น เริ่มจากสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ นี่เป็นส่วนของปัญญา เข้าใจทุกข์ให้ดี ทำชีวิตให้เป็นปกติ มีศีล สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ อยู่ในศีลธรรม รักษาศีลให้ดี ไปฝึกจิตให้มีกำลัง มีสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ประกอบเข้าอยู่ในจิตของเรา ผนังความเป็นตัวตนของเราถูกทำลายเพราะตัณหาหมดไป จิตที่ฝึกดีแล้วด้วยมรรค8 ทำอริยสัจ4ให้เข้าไปในใจของเรา จะนำความสุขมาให้ นั่นคือนิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
เห็นธรรมในธรรม [6727-2m]
01-07-2024
เห็นธรรมในธรรม [6727-2m]
เห็นธรรมในธรรมโดยเห็นลมผ่านทางกาย ในความเหมือนกันของลมและกาย เห็นส่วนที่ต่างกันจากการปรุงแต่งของการเปลี่ยนแปลงของกายที่ทั้งเหมือนและต่าง เห็นวัฏจักรสู่ความระงับ ฝึกฝนโดยมีสติอยู่กับลม จิตจะสงบระงับเป็นอารมณ์อันเดียว เห็นธรรมชาติที่จิตนั้นปรุงแต่งได้แต่ปลดเปลี้อง และแยกกันคนละส่วน จะเกิดลักษณะของจิตที่จะน้อมเข้าไปเพื่อยึดกิเลสอีกแต่จะเบาบางลงคือการสละคืน ดังนั้นจิต ลม สติให้อยู่ด้วยกัน เห็นกายในกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม คือสติปัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เห็นตามสภาพความเป็นจริง ไม่ยึดถือ อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ คือเห็นอริยสัจ 4 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ สามสิ่งในสิ่งเดียว [6726-2m]
24-06-2024
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ สามสิ่งในสิ่งเดียว [6726-2m]
ระลึกถึงคุณของแก้วสามประการ คือพุทโธ ธัมโม สังโฆ จิดเป็นสมาธิเกิดสติ ทำสติให้มีกำลังและพัฒนาเกิดปัญญา พุทโธแก้วประการที่1 คือผู้รู้ รู้วิธีกำจัดกิเลสออกไปจากใจ ไม่ถูกบีบคั้นด้วย ราคะ โทสะ โมหะ พุทโธมีสามระดับ คือ สัมมาสัมพุทโธ อนุพุทโธ ปัจเจกพุทโธ ธัมโมแก้วประการที่2 คือ ธรรมะที่ทำให้พ้นทุกข์ มีความงดงามในเบื้องต้น คือมีความชอบที่สอดคล้องกัน,ท่ามกลาง คือฟังแล้วทำตามได้ผล และในที่สุด ซึ่งเป็นปัญญา วิชชา กำจัดอวิชชากิเลสตัณหาไม่ต้องกลับมาเกิดอีก สังโฆแก้วประการที่3 ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า แก้วรัตนะ เป็นสายเส้นแห่งการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์แปด เกิดความรู้อริยสัจสี่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
เห็นกายในกาย [6725-2m]
17-06-2024
เห็นกายในกาย [6725-2m]
มีสติให้รู้ชัด ว่าหายใจเข้าหรือออก ไม่ต้องตามลม ให้ตั้งสติไว้จุดที่สัมผัสลมได้ การเห็นลมคือการเห็นกายอย่างนึง เป็นหนึ่งในที่ตั้งของสติ สติคือความไม่เผลอไม่เพลิน แต่เราต้องเห็นกายในกายให้ถูกต้อง คือเห็นด้วยสัมมาสติ เห็นกายเป็นของปฏิกูล ขั้นตอนที่หนึ่ง เห็นลมเราไม่ต้องตามลม ขั้นตอนที่สองไม่เผลอไม่เพลินไปตามสิ่งที่ได้รับรู้และสัมผัสต้องคิดเป็นระบบ เรียกว่าการพิจารณา พิจารณาด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เรียกว่า ทำวิปัสสนา พิจารณาไล่เรียงไปทีละส่วนก็ได้ พิจารณาเป็นของปฏิกูล เพื่อละความยึดถือ ให้เห็นตามความเป็นจริง ไม่ยึดถือก็ไม่ทุกข์ จิตที่ไม่เกิด ความตายก็ไม่เกิด ปัญญาเกิดขึ้น อวิชชาดับ ตัณหาก็ดับ ความยึดถือก็ดับไปด้วย ไม่มีการเกิดอีก ให้รักษาสภาวะ สมถะ วิปัสสนานี้ไว้ให้ดี Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สติกับอนุสัย [6723-2m]
03-06-2024
สติกับอนุสัย [6723-2m]
หายใจแรง ๆ สองสามครั้ง กำหนดรู้ถึงลมรับรู้ถึงสัมผัสได้ที่ตรงไหน เอาจิตมาจดจ่อตั้งเอาไว้ที่นี่และหายใจธรรมดา กำหนดอยู่กับลม ณ ตรงตำแหน่งที่เราสัมผัสได้ตอนแรก มีสติสัมปัญชัญญะ เมื่อสติมีกำลังมากขึ้นตามกระบวนการของการเจริญอานาปานสติ จิตจะมีกำลังมากขึ้น การรับรู้เกิดขึ้นได้แต่ไม่ตามไป รู้สึกพอใจก็เป็น ราคานุสัย รู้สึกไม่พอใจก็เป็นปฏิฆานุสัย กำจัดอนุสัยออกด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เกิดสติสัมปชัญญะเห็นตามความเป็นจริง มีวิชาเกิดปัญญา ละอวิชานุสัยได้ เห็นว่าไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้ สิ่งใดไม่เที่ยงไม่ควรไปยึดถือ นิโรธมีได้ความดับเกิดขึ้นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
การพิจารณาปัจจัยในภายใน [6722-2m]
27-05-2024
การพิจารณาปัจจัยในภายใน [6722-2m]
เมื่อเกิดความพอใจ ไม่พอใจ ความหลง ความไม่รู้ ให้ใคร่ครวญธรรมโดยการพิจารณาปัจจัยในภายใน เข้าใจเหตุให้ถูกต้องจะสาวไปถึงปัจจัยต้นตอเงื่อนไขของมันได้ ตามระบบอริยสัจ4 และลงมือปฏิบัติตามมรรค8 ซึ่งมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่างเป็นหลัก แต่ถ้าเราหลงไปยึดถือ เกิดความรู้สึกและตัณหามากมายรวมเรียกว่า อุปธิ ก็จะพาให้ทุกข์ จึงต้องมีสติตั้งไว้เสมอ ไม่ตามตัณหาไป เห็นในความเป็นอนัตตา เห็นโทษของมัน ใช้หลักธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน ใคร่ครวญให้ถูกทาง ต้องมาจบที่มรรค 8 และควรทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งเป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
วิธีทำจิตให้สงบ [6720-2m]
13-05-2024
วิธีทำจิตให้สงบ [6720-2m]
หลักการที่ควรรู้ทำให้ละเอียดลงไปคือ เมื่อตริตรึกไปในอารมณ์ใดๆมาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ เมื่อเข้าใจหลักการนี้ ก็สามารถเริ่มวิธีการทำจิตให้สงบจากความฟุ้งซ่านได้ โดยผูกจิตไว้ที่สติดุจผูกสัตว์ทั้ง 6 ไว้ที่เสา ไม่ให้ไปตามช่องทางของสิ่งที่มากระตุ้น รับรู้แต่ไม่ตามไป ไม่เพลินไปตามทั้งในสิ่งที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ สติจะเป็นตัวแยกจิตออกจากการรับรู้ จิตไม่ใช่ความคิด ลิงกับป่าเป็นคนละอันกัน เมื่อมีสติย่อมไม่ลืมไม่เพลินไม่เผลอ ความรู้จะค่อยปรากฎขึ้นว่าจิตนี้ไม่ใช่ของเรา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.